เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.จักกวรรค 3.สีหสูตร

1. ทาน (การให้)
2. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
4. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)
ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ 4 ประการนี้แล
ทาน เปยยวัชชะ อัตถจริยาในโลกนี้
และสมานัตตตาในธรรมนั้น ๆ ตามสมควร
สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก
เหมือนลิ่มสลักที่ยึดคุมรถซึ่งแล่นไปไว้ได้ฉะนั้น
ถ้าไม่พึงมีธรรมเหล่านี้ มารดาหรือบิดา
ก็ไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ
แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้
ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นจึงถึงความเป็นใหญ่
และเป็นผู้น่าสรรเสริญ

สังคหสูตรที่ 2 จบ

3. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์

[33] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัย บิดกาย
ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง 4 ทิศ บันลือสีหนาท 3 ครั้งแล้วหลีกไปหาเหยื่อ โดยมาก
สัตว์ดิรัจฉานที่ได้ฟังพญาราชสีห์บันลือสีหนาทย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และ
สะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้าโพรง พวกที่อยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่
อยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวกสัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ พญาช้างที่ถูกล่ามไว้ด้วยเครื่อง
ผูกคือเชือกหนังที่มั่นคงแข็งแรง ในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลาย
เครื่องผูกเหล่านั้น ตกใจกลัว ถ่ายมูตรและกรีส1 หนีไปทางใดทางหนึ่ง บรรดา
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย พญาราชสีห์เป็นสัตว์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.จักกวรรค 3.สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดตถาคต1อุบัติในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค2 แสดงธรรมว่า ‘สักกายะ3เป็นอย่างนี้ สักกายสมุทัย (เหตุเกิด
สักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้’ เมื่อนั้นเทวดาพวกที่มี
อายุยืน มีวรรณะ มีสุขมาก สถิตอยู่ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ฟังธรรมเทศนา
ของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น สะดุ้งว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย
ทราบมาว่า พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้
สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’ เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ” ดังนี้ บรรดา
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มี
อานุภาพมากอย่างนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อใดพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้4 ตรัสรู้ยิ่งแล้ว